คุณค่าของศิลปะ


อัพโหลดรูป

ลำดับความสำคัญของศิลปะ
ในทางวรรณกรรม มหากาพย์ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่มีระดับคุณค่าสูงที่สุดในบรรดานักวิพากษ์วรรณกรรม ตามเหตุผลของซามูเอล จอห์นสัน ที่บรรยายใน ชีวิตของจอห์น มิลตัน ว่า: “ตามความเห็นที่พ้องกันของนักวิพากษ์, งานที่สมควรแก่การสรรเสริญในคุณค่าคืองานของนักเขียนผู้เขียนมหากาพย์, เพราการเขียนมหากาพย์ผู้เขียนต้องรวบรวมพลานุภาพทุกด้านที่แต่ละด้านเพียงพอสำหรับสร้างงานเขียนแต่ละชนิด”
การจัดลำดับที่ทราบกันดีที่สุดในงานจิตรกรรมคือมาตรฐานที่สร้างขึ้นโดยสถาบันในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงสมัยใหม่ ระดับต่างๆ ที่จัดขึ้นสำหรับประเภทของงานศิลปะต่างๆ ได้รับการสนับสนุนโดยราชสถาบันแห่งจิตรกรรมและประติมากรรมแห่งฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้นำในศิลปะสถาบัน
การโต้เถียงที่เกี่ยวกับความงามของจิตรกรรมที่ยังคงเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายังคงเน้นความสำคัญของอุปมานิทัศน์; การใช้องค์ประกอบในงานจิตรกรรมเช่นเส้น และ สีในการสื่อความหมายที่เป็นหัวใจของภาพ ฉะนั้นอุดมคตินิยมจึงเป็นสิ่งที่ใช้กันในงานศิลปะ โดยที่รูปทรงตามธรรมชาติเป็นสิ่งที่เห็นโดยทั่วไป ฉะนั้นจึงเป็นรองจากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของงานศิลปะ ที่มีจุดประสงค์ในการแสวงหาสัจจะโดยการเลียนแบบ “ความงามของธรรมชาติ” แต่นักทฤษฎีที่มีความคิดเห็นแตกต่างออกไปมีความเชื่อมั่นว่าการเน้นการใช้อุปมานิทัศน์เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ถูกต้องของความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ และกวีนิพนธ์ที่มาจากบทเขียนของโฮราซ (Horace) “ut pictura poesis” (“ในภาพเขียนคือกวีนิพนธ์”)[งานค้นคว้าต้นฉบับ?]
การจัดลำดับคุณค่าของศิลปะเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1667 โดยอังเดร เฟลิเบียง (André Félibien), นักประวัติศาสตร์ศิลป์, สถาปนิก และ นักทฤษฎีว่าด้วยศิลปะคลาสสิคฝรั่งเศส ลำดับคุณค่าของศิลปะถือว่าจิตรกรรมประวัติศาสตร์เป็นลำดับคุณค่าอันดับหนึ่ง หรือ มหาจิตรกรรม (grand genre) จิตรกรรมประวัติศาสตร์รวมจิตรกรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา, ตำนานเทพ, ประวัติศาสตร์, วรรณคดี หรืออุปมานิทัศน์—ที่ตีความหมายของชีวิตหรือสื่อความหมายทางจริยธรรมและทางปัญญา เทพเจ้าจากตำนานเทพโบราณเป็นตัวแทนของจิตวิญญาณของมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ บุคคลจากศาสนาเป็นตัวแทนของความคิดและปรัชญาต่างๆ และประวัติศาสตร์เป็นตัวแทนของความผันผวนของความคิดและปรัชญา จิตรกรรมประวัติศาสตร์เน้นการเขียนภาพวีรบุรุษที่เป็นชายเปลือยอยู่เป็นเวลานานโดยเฉพาะระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่ความนิยมนี้ก็เริ่มมาลดถอยลงในคริสต์ศตวรรษที่ 19
รองจากจิตรกรรมประวัติศาสตร์ก็เป็นการเขียนภาพชีวิตประจำวัน (scènes de genre) หรือ จุลจิตรกรรม (petit genre) ที่ตรงกันข้ามกับ มหาจิตรกรรม รองจากนั้นก็เป็นภาพเหมือน, ภาพภูมิทัศน์ และลำดับสุดท้ายคือภาพนิ่ง ตามสูตรดังกล่าวภาพเหล่านี้ถือว่ามีคุณค่าต่ำเพราะเป็นการเขียนที่ปราศจากพลังทางจิตหรือความมีจินตนาการทางศิลปะ การเขียนภาพชีวิตประจำวัน—ซึ่งมิได้มีคุณค่าทางอุดมคติหรือลักษณะ, หรือเป็นหัวข้ออันสูงส่ง—ได้รับการชื่นชมเพราะคุณสมบัติของการเขียนที่มาจากความเชี่ยวชาญ ความเป็นเอกลักษณ์ และความมีอารมณ์ขัน แต่ที่แน่นอนคือไม่ถือว่าเป็น “ศิลปะสูง” นอกจากนั้นการจัดลำดับคุณค่ายังระบุขนาดของภาพของแต่ละระดับด้วย: ภาพขนาดใหญ่สำหรับการเขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์ และ ภาพขนาดเล็กสำหรับการเขียนภาพนิ่ง
อังเดร เฟลิเบียงกล่าวว่าจิตรกรควรจะเลียนแบบพระเจ้าผู้ที่มีผลงานที่สมบูรณ์แบบที่สุดคือการสร้างมนุษย์ และแสดงภาพกลุ่มคน และ เลือกหัวข้อการเขียนจากประวัติศาสตร์และตำนาน “จิตรกรต้อง,” เฟลิเบียงเขียน “เช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์, เขียนงานที่เป็นงานที่เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญ และเช่นเดียวกับกวีที่เขียนสิ่งที่ทำให้เป็นที่ชื่นชม และต้องมีความเชี่ยวชาญยิ่งไปกว่านั้นในการมีความเชี่ยวชาญในการแฝงความหมายโดยการใช้ตำนานในการสื่อคุณค่าของบุคคลสำคัญ และคุณค่าอันสูงสุดอันเป็นที่สรรเสริญอันลึกลับของมนุษย์”
จิตรกรชาวอังกฤษโจชัว เรย์โนลด์สระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1770 ถึง 1780 ย้ำในคุณค่าของภาพนิ่งว่าเป็นระดับต่ำที่สุดในบรรดางานจิตรกรรมประเภทต่างๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นงานเขียนที่ทำให้จิตรกรไม่สามารถเข้าถึงหัวใจของรูปทรงหลักได้ จิตรกรรมที่ยังถือกันว่ามีคุณค่าสูงสุดคือจิตรกรรมประวัติศาสตร์ แม้ว่าเรย์โนลด์สจะเห็นด้วยกับการจัดระดับของเฟลิเบียง แต่เรย์โนลด์เชื่อว่างานที่ดีที่สุดของแต่ละประเภทก็ยังสามารถสร้างได้โดยผู้มีพรสวรรค์
แม้ว่าสถาบันศิลปะของยุโรปจะใช้การจัดลำดับคุณค่า แต่ศิลปินหลายคนก็สามารถคิดค้นประเภทงานศิลปะใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ทำให้ยกฐานะของหัวเรื่องขึ้นให้มามีความสำคัญพอกับจิตรกรรมประวัติศาสตร์ได้ เรย์โนลด์สเองก็สามารถทำได้โดยการเขียนภาพเหมือนแนวใหม่ที่เรียกว่า “Grand Manner” ที่เป็นการเขียนที่ส่งเสริมผู้เป็นแบบโดยการเขียนเป็นเชิงเทพในตำนาน ฌอง อองตวน วัตโตว์ เป็นผู้ริเริ่มประเภทงานเขียนใหม่ที่เรียกว่า “fêtes galantes” ซึ่งเป็นการเขียนฉากความสนุกสำราญของราชสำนักที่เกิดขึ้นในบรรยากาศธรรมชาติ ที่มีลักษณะที่มีทั้งอรรถรสและคุณค่าทางอุปมานิทัศน์ที่ถือว่าเป็นการแสดงความสูงส่ง โคลด ลอร์แรน (Claude Lorrain) ริเริ่มประเภทงานเขียนใหม่ที่เรียกว่า “ภูมิทัศน์อุดมคติ” (ideal landscape) ที่องค์ประกอบของภาพมีรากฐานมาจากธรรมชาติบ้างเล็กน้อยโดยมีซากปรักหักพังของสถาปัตยกรรมคลาสสิคอยู่ประปรายที่เป็นฉากของภาพทางศาสนาและประวัติศาสตร์ การเขียนลักษณะนี้เป็นการรวมการเขียนภาพภูมิทัศน์กับการเขียนภาพประวัติศาสตร์ซึ่งทำให้การเขียนภาพภูมิทัศน์ลักษณะนี้ได้รับการยกระดับคุณค่าขึ้น ซึ่งทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “จิตรกรรมภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์” และได้รัการยอมรับโดยสถาบันฝรั่งเศสเมื่อมีการก่อตั้งปรีซ์เดอโรมขึ้นในปี ค.ศ. 1817 และสุดท้ายฌอง-แบ็พทีสต์-ซิมง ชาร์แดง (Jean-Baptiste-Siméon Chardin) สามารถยกระดับการเขียนภาพนิ่งที่ถือกันว่ามีทั้งเสนห์และความงามพอที่จะมีคุณค่าเคียงข้างกับศิลปะอุปมานิทัศน์ชั้นเอกได้ เมื่อทราบถึงความสำคัญของการจัดระดับคุณค่า ชาร์แดงก็เริ่มสอดแทรกบุคคลเข้าไปในภาพราวปี ค.ศ. 1730 ที่ส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรี
จิตรกรสตรีไม่สามารถเขียนภาพประวัติศาสตร์ได้มาจนกระทั่งถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพราะไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าร่วมในการฝึกการเป็นจิตรกรขั้นสุดท้ายซึ่งคือการฝึกหัดการเขียนจากตัวแบบจริง เพื่อเป็นการป้องกันจากความอับอาย สตรีฝึกการเขียนได้จากภาพนูน ภาพพิมพ์ งานหล่อ หรือจากงานของศิลปินชั้นครู ได้แต่ไม่ได้รับโอกาสให้ได้รับการฝึกการเขียนจากแบบเปลือย นอกจากนั้นก็ยังได้รับการหว่านล้อมให้เลือกเขียนงานที่งานที่ถือว่ามีระดับคุณค่าที่ต่ำเช่นการเขียนภาพเหมือน ภาพภูมิทัศน์ หรือภาพชีวิตประจำวัน ซึ่งถือว่าเป็นงานเขียนสำหรับสตรีเพราะเป็นงานเขียนที่มีความชวนเชิญทางตาไม่ใช่ทางความสติปัญญา
เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จิตรกรและนักวิจารณ์ศิลปะก็เริ่มประท้วงกฎต่างๆ ของสถาบันศิลปะที่รวมทั้งความลำเอียงในความนิยมจิตรกรรมประวัติศาสตร์ ขบวนการทางศิลปะใหม่ๆ ที่รวมทั้งสัจนิยม และ อิมเพรสชันนิสม์ ที่แสวงหาการสื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชั่วขณะในปัจจุบัน และการเขียนภาพชีวิตประจำวันที่พบเห็นโดยทั่วไปที่แยกจากความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จิตรกรสัจนิยมมักจะเลือกเขียนภาพชีวิตประจำวันและภาพนิ่ง ส่วนจิตรกรอิมเพรสชันนิสม์จะเลือกเขียนภูมิทัศน์ ความนิยมในการเขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์ก็เริ่มลดถอยลง และเริ่มหันไปเป็นการเขียนลักษณะอื่นเช่นการเขียนศิลปะแบบญี่ปุ่น[1] และอื่นๆ ที่ตามม


อัพโหลดรูปคุณหมิง เมืองเลย
รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
แนวผาหินปูนสูงใหญ่แลดูเป็นสง่า ทอดตัวเป็นแนวยาว โดดเด่นท่ามกลางทุ่งหญ้าเขียวขจี พื้นที่บริเวณนี้คือที่ตั้งของ สวนหินผางาม เมืองเลย ภายในมีเส้นทางเดินสลับซับซ้อน บางช่วงดูลึกลับตื่นเต้นคล้ายกับผจญภัยอยู่ในเขาวงกต บางช่วงต้องปีนป่ายเพิงหิน หรืออาจต้องมุดลอดโพรงถ้ำ นอกจากนี้ตลอดเส้นทางยังมีโอกาสพบเห็นต้นไม้หายาก และต้นไม้ยักษ์ อย่างปรงเขาที่มีอายุหลายร้อยปี

สวนหินแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่บ้าน ผางาม หมู่ 10 ตำบลปวนพุ กิ่งอำเภอหนองหิน แยกจากทางหลวงสายเมืองเลยชุมแพ ช่วงระหว่างอำเภอวังสะพุงกับภูกระดึง เข้าไปทางทิศตะวันตกตามถนนลาดยางตลอดสาย ผ่านหมู่บ้านต่างๆ ประมาณ 15 กม. จะมีป้ายบอกทางตลอดทางจนถึงบริเวณทุ่งหญ้าพื้นที่กว้างพอสมควร มีภูเขาแท่งหินปูน ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่กระจายเป็นลูกๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้าง สลับกันไป บางลูกก็สามารถเดินผ่านทะลุได้ จะมีชื่อเรียกต่างๆ กันตามลักษณะรูปร่างที่ปรากฎ เช่น หินไดโนเสาร์ หน้าผาท้อแท้ ซุ้มคารวะ ถ้ำอรทัย เขาวงกต เจดีย์หิน กรอบรูปธรรมชาติ กำแพงเมืองจีน ประตูโขง หินมงกุฎ สวนหิน ซุ้มนรก รูรันตู (รูตัน) มีต้นไม้นานาพันธ์ขึ้นแซม ซึ่งพบต้นไม้หายากและต้นไม้ยักษ์อย่างปรงเขาที่มีอายุหลายร้อยปี จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า คุนหมิงเมืองเลย สันนิษฐานกันว่าในอดีตเคยเป็นพื้นของท้องทะเลมาก่อน และมีอายุมากว่า 225 ล้านปี ภายในมีทางเดินสลับซับซ้อน บางช่วงดูลึกลับน่าตื่นเต้นคล้ายกับผจญภัยอยู่ในเขาวงกต บางช่วงต้องปีนป่ายเพิงหิน หรืออาจต้องมุดลอดโพรงถ้ำ
ในบริเวณ มีสถานีบริการนักท่องเที่ยว ที่จอดรถ ห้องน้ำ ร้านขายของที่ระลึก และร้านอาหารให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ที่สถานีบริการนักท่องเที่ยวมีบริการนำทาง และให้คำบรรยาย ค่าบริการเพียง 100 บาทต่อนักท่องเที่ยวหนึ่งคณะ มีจุดชมวิวเพื่อถ่ายภาพยอดเขา คุนหมิงเมืองเลย ไว้เป็นที่ระลึก หลังจากนั้นเดินลงบันไดทางด้านหลังเขา ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของร้านค้า ฝั่งตรงข้ามจะปากทางเข้าถ้ำลอด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติอีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งมีสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่ อุโมงค์ลานเพลิน 7 สี ป่าเฟิร์นที่บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย หินยาย หินตา ซึ่งตั้งชื่อตามลักษณะที่ปรากฏอีกเช่นกัน

สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)

ผลิตภัณฑ์ผีตาโขน จัดทำขึ้นเป็นรูปแบบต่างๆ ทั้งเซรามิค ตัวหุ่น และพิมพ์บนผืนผ้า เป็นสินค้าที่ระลึกขึ้นชื่อของชาวจังหวัดเลย มีจำหน่ายทั่วไปในตัวเมือง และมีมากที่อำเภอด่านซ้าย

การเดินทาง

จากอำเภอวังสะพุง ใช้ทางหลวงหมายเลข 201 ไปทางกิ่งอำเภอหนองหิน ถึงตลาดหนองหิน เลี้ยวขวาเข้าถนนสายหนองหิน-สวนผางาม ประมาณ 18 กิโลเมตร เลยบ้านผางาม แยกขวามือ เข้าไปอีกราว 500 เมตร

ข้อมูลการติดต่อ
ติดต่อผู้นำชมที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของ อบต.หนองหิน โทรศัพท์ 0 1462 1719 และศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จังหวัดเลย โทรศัพท์ 0 4281 2812 หรือ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว (Call Center) 1147 หรือที่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสวนหินผางาม โทรศัพท์ 0 4280 1900

ข้อแนะนำ

นักท่องเที่ยวควรแต่งกายทะมัดทะแมง และใช้ความระมัดระวังในการเดินชม ใช้เวลาในการชมราวชั่วโมงเศษ ติดต่อผู้นำชมที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ของ อบต.หนองหิน โทรศัพท์ 0 1462 1719 เข้าชมได้ครั้งละ 10-15 คน

แวน โก๊ะ


อัพโหลดรูป

วินเซนต์ แวน โก๊ะ ถูกยกย่องให้เป็นจิตรกรชาวดัชท์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าชื่อเสียง ของเขาเพิ่งจะมาโด่งดังเอาในช่วง 3 ปีสุดท้ายของชีวิตการเป็นจิตรกรตลอด 10 ปี ก็ตาม แต่เขาก็ได้สร้างอิทธิพลต่อ ศิลปะแบบอิมเพรสเช่นนิสท์ แบบโมเดินท์ อารต์ เอาไว้มากมาย สร้างผลงานภาพเขียนสีน้ำมันกว่า 800 ภาพ และภาพวาดอีกกว่า 700 ภาพ ซึ่งตลอดชีวิตของเขานั้นมีเพียงภาพเดียวที่ขายได้ ความเจ็บป่วยทางสมอง และจิตใจของ แวน โก๊ะนั้นแสดงออกมาทางภาพที่เขาเขียน ด้วยการใช้สีอันร้อนแรง การปัดพู่กันแบบหยาบๆ และรูปแบบของลายเส้นที่ใช้จนในที่สุดก็ได้ผลักดันให้ เขา จบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย

วินเซนต์ แวน โก๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ปี ค.ศ. 1853 ที่ซันเดิรท์ ย่านบราแบรนท์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ วินเซนต์เป็นบุตรชายคนโต บิดาเป็นนักบวชนิกาย โปรแตสแตนท์ เมื่อแวนโก๊ะอายุได้ 16 ปี เขาได้ไปฝึกงานขายภาพศิลปะที่ฮูเก้นท์ เขาทำงานขายภาพทั้งในลอนดอน และปารีสไปจนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1876

แวน โก๊ะก็เริ่มตระหนักว่า เขาไม่ชอบงานขายภาพที่เขาทำอยู่เลยประกอบกับถูก
ปฏิเสธความสัมพันธ์จากหญิงที่ตนรัก ทำให้เขาเริ่มทำตัวออกห่างจากผู้คนมากขึ้น และตัดสินใจที่จะออกบวช แต่เขาก็ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขา ไม่สามารถผ่านการทดสอบให้เข้ามาเป็นนักบวชได้ ในที่สุดเขาก็กลายเป็นนักเทศน์ไป และในปีค.ศ.1878 เขาได้เดินทางไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบลเยี่ยมเพื่อ ทำการ เผยแพร่ศาสนา โดยพกพาเอาความยากจนค่นแค้นไปตลอดการเดินทางจากการเด ินทาง ครั้งนี้ แวนโก๊ะ ได้มีปากเสียงกับนักเทศน์ผู้อาวุโส ทำให้เขาถูกขับออกจากกลุ่มในปี ค.ศ.1880 ในสภาพของคนสิ้นไร้ และสูญเสียความเชื่อของตนไป เขาจมอยู่กับ ความผิดหวัง และได้เริ่มเขียนรูป แต่ในไม่ช้าเขาก็ตระหนักได้ว่า เขาไม่สามารถที่จะ เรียนรู้การเขียนภาพด้วยตนเองได้

ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจเดินทางไปบรัสเซลเพื่อเรียน การเขียนภาพ

ในปี ค.ศ.1881 แวน โก๊ะได้กลับมาทำงานที่ฮูเก้นท์อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มทำงานกับ ช่างเขียนภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ชื่อ อันตน มัวร์ ฤดูร้อนของปีถัดมาได้เริ่มการทดลอง การเขียนภาพด้วยสีน้ำมัน และด้วยเสียงเรียกร้องภายในจิตใจของ แวน โก๊ะ ให้ไปใช้ ชีวิตตามลำพังอยู่กับธรรมชาติ ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางไปยังหมู่บ้านของชาวดัชท์ เพื่อเริ่มการเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงามตามท้องที่ต่า งๆ เขาใช้ชีวิตในแต่ละวันไปกับ การเขียนถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเขา ในปี ค.ศ.1883 เขาได้สร้างงานเขียนภาพชิ้นแรก ขึ้นมา โดยให้ชื่อภาพว่า ” โปเตโต อีทเตอร์ ”

เมื่อความเหงาและความอ้างว้างเริ่มเข้ามาแกาะกุมจิตใ จของ แวน โก๊ะ เขาจึงออกจาก หมู่บ้านและเข้าศึกษาต่อที่ แอนท์เวอป์ ในเบลเยี่ยม แต่เขาเองก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะปฏิบัติ ตามกฎของการเรียนที่นั่นมากนัก ช่วงที่เรียนอยู่ที่แอนเวอป์ เขาได้รับแรงบันดาลใจ จากจิตรกรที่ชื่อ ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และได้เริ่มสนใจภาพพิมพ์ของญี่ปุ่นด้วย ในที่สุด เขาก็ได้เลิกเรียน เพื่อไปยังปารีส ทีนั่นเขาได้พบกับ เฮนรี่ เดอ ตัวรูส และจอร์จีนส์ รวมทั้งศิลปินอิเพราสเช่นนิสท์อีกหลายคน เช่น คามิล ปิสซาโร โซรัส และคนอื่น ๆ การใช้ชีวิต 2 ปีเต็มที่ปารีสนั้น ได้ขัดเกลาฝีมือในการเขียนภาพของ แวน โก๊ะ ให้ เฉียบคมยิ่งขึ้น
เขาเริ่มใช้สีสันที่มีชีวิตชีวา และไม่ยึดติดอยู่กับการเขียนภาพแบบเก่าๆ
วินเซนต์ แวน โก๊ะ ใช้ชีวิตในตัวเมืองปารีส ได้สักพักก็เริ่มเบื่อ เขาจึงออกจากปารีส ไปในปี ค.ศ.1888

เพื่อไปยังเมืองอาเรสทางตอนใต้ของฝรั่งเศษ ที่เมืองอาเรสนั้น
แวน โก๊ะได้เช่าบ้านหลังหนึ่ง แล้วตกแต่งบ้านด้วยสีเหลืองทั้งหมด เขาหวังที่จะตั้ง กลุ่มศิลปินอิมเพรสเช่นนิสท์ขึ้น ในเดือนตุลาคม จอร์จีนส์ได้มาอยู่ร่วมกับเขาแต่ ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองก็ต้องขาดสะบั้นลงในคืนวันค ริสตมาส อีฟ จอร์จีนส์ ได้โต้เถียงอย่างรุนแรงกับแวน โก๊ะ ทำให้แวน โก๊ะ เกิดบ้าเลือดขึ้นมาแล้วตัดใบหู ของตัวเอง ทำให้จอร์จีนส์จากไป และตัวของเขาเองต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การแสดงอาการต่างๆ ของแวน โก๊ะ นั้น ทำให้เห็นถึงสภาพจิตใจและประสาทที่ผิดปกติ ในที่สุดเขาก็ต้องเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลบ้า เป็นเวลา 1 ปีเต็ม เมื่อ แวน โก๊ะ ออกจากโรงพยาบาล เขาได้ไปอาศัยอยู่กับศิลปิน นักฟิสิกส์ ได้ประมาณ 2 เดือน และในวันที่ 27 กรกฎาคมของปี ค.ศ.1890 เขาได้ยิงตัวเอง และเสียชีวิตในอีก
2 วันต่อมา

ช่วงชีวิตของ แวน โก๊ะตอนที่อยู่ที่อาเรสนั้น ได้สร้างผลงานเขียนภาพที่ยิ่งใหญ่เอาไว้ มากมาย เขาเขียนภาพของธรรมชาติอันงดงาม ภาพทุ่งหญ้ายามต้องแสงอาทิตย์ ภาพของดอกไม้นานาชนิด และภาพดอกไอริสที่มีชื่อเสียงนั้นสามารถขายได้ถึง

การทำผีตาโขน


อัพโหลดรูป

การทำหน้ากากผีตาโขน :
ส่วนหัวของหน้ากากผีตาโขนทำด้วยหวดนึ่งข้าวเหนียว
นำมาหักพับขึ้นให้มีลักษณะคล้ายหมวก ส่วนหน้าทำจาก
โคนก้านมะพร้าว ถากเป็นรูปหน้ากาก แล้วเจาะช่องตา สำหรับ
จมูกของผีตาโขนนั้น ในสมัยก่อนจะมีขนาดเล็กค้ายจมูกของ
คนธรรมดาทั่วไป แต่ในปัจจุบันมักทำในลัษณะยาวแหลมคล้าย
งวงช้าง โดยทำจากไม้นุ่นซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาแกะเป็น
รูปทรงต่างๆ ส่วนเขาทำจากปลีมะพร้าวแห้ง นำมาตัดเป็นขนาด
และรูปทรงตามต้องการ
การประกอบส่วนต่างๆ ของหน้ากากนั้น ส่วนหัว หน้าและเขา
ก็จะใช้เชือกเย็บติดเข้าด้วยกัน ส่วนจมูกจะยึดติดกับหน้ากาก โดย
จะใช้ตะปูตียึดจากด้านใน การตกแต่งลวดลายต่างๆในปัจจุบัน
นิยมใช้สีน้ำมัน ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีสีน้ำมัน จะใช้สีจากธรรมชาติ
เช่น ขมิ้น ปูนขาว ขี้เถ้า ปูนแดง เขม่าไฟ เมื่อตกแต่งลวดลาย
เสร็จแล้ว ด้านหลัง จะใช้เศษผ้าเย็บต่อจากหน้ากากและหวด
ให้คลุมส่วนคอจนถึงไหล่
การทำหน้ากากผีตาโขนเป็นงานศิลปะพื้นบ้าน ที่ถูกถ่ายทอด
สู่ลูกหลานรุ่นแล้วรุ่นเล่า โดยมีรูปแบบที่หลากหลายตามจินตนาการ
ของผู้ทำและตามอิทธิพลต่างๆ ที่ได้รับ แต่ก็ยัง คงรักษาเอกรักษ์
ของความเป็นผีตาโขน ไว้ได้เป็นอย่างดี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
: ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอด่านซ้าย
โทรศัพท์ 0-4289-1094
: ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดเลย
โทรศัพท์ 0-4281-2812, 0-4281-1405

http://www.siamtrip.net/page/trend/phitakhon2.php

ความเป็นมา…ผีตาโขน


อัพโหลดรูป

ประวัติความเป็นมาของ ผีตาโขน นั้น
มีที่มาเป็นอย่างไร ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน
เนื่องจากต่างคนก็ต่างว่ากันไป คนละอย่างสองอย่าง
แต่ที่น่าจะเป็นไปได้ และใกล้เคียงที่สุดคือ
น่าจะเกิดจากงานบุญพระเวส ที่มาจาก
ตำนานของพระเวสสันดร ในตอนที่ทรงสละกิเลส
จะมีพวก ภูติผีปีศาจ คอยติดตามรังครวญให้ไข้วเข้ว

ซึ่งแต่ก่อนจะเรียกกันว่า ผีตามคน
เรียกไปเรียกมา ประกอบกับสำเนียงที่เพี้ยนของคนท้องถิ่น
ก็เลยกลายมาเป็น “ผีตาโขน” ในปัจจุบันโดยปกติวันจัดงานประเพณีแห่ผีตาโขน ในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน
ขึ้นอยู่กับร่างทรงของ เจ้าพ่อกวน ซึ่งเอาแน่เอานอนไม่ได้
แต่ก็จะอยู่ใน ระหว่างเดือนมิถุนายน
และคงด้วยอำนาจของ ททท. ที่มีเหนือเจ้าพ่อกวน งานเลยต้อง
มาลงตรงช่วง เสาร์-อาทิตย์ พอดิบพอดี ทุกปีต่อนี้ไป ฮ่า ฮ่าฮ่า

งานประเพณีแห่ผีตาโขน ในปีนี้เริ่มขึ้น วันศุกร์ที่ 14/6/2545
โดยจะมีการประกวดประชัน ผีตาโขน แต่ละหมู่บ้านกันก่อน
จากนั้น ในช่วงเช้าของวันเสาร์ ขบวนผีตาโขน ทั้งหลายแหล่
ก็จะเริ่มออกจากหมู่บ้านของตัวเอง มารวมพลกันที่จุดนัดพบ
ในตัวเมือง จากนั้นก็จะมีการเปิดงาน ด้วยการแสดงประวัติ
ของ อ.ด่านซ้าย และที่มาของ พระธาตุศรีสองรัก
ซึ่งก็อลังการณ์ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ที่ไหนเหมือนกัน แล้วก็ตามด้วย
ขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ ของผีตาโขน ดูละลานตาไปหมด
ทั้งผีน้อย ผีใหญ่ คะเนด้วยสายตา ก็หลายร้อยตนเลยทีเดียวพวกผีตัวน้อยๆ ก็จะมีอาวุธเป็นดาบ
ดูแล้ว น่าเอ็นดูมากกว่าน่าเกรงขาม
ส่วนพวกผีใหญ่ อาวุธหลักก็จะเป็น ท่านปลัด(ขลิก)
ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ก็แล้วแต่จะสรรหากันมา
บ้างก็มีหัวสร้างสรรค์ประดิษฐ์ให้ ท่านปลัด
สามารถขยับได้เหมือนจริง ก็ว่ากันไปครับ
แต่สรุปว่าทั้ง อำเภอกลายเป็นผีเกือบหมดล่ะครับ
บรรยากาศโดยรวม สนุกสนานมาก เสียงกระดิ่งที่ห้อยอยู่ข้างหลังผีทุกตน ดัง ก๊องๆแก๊งๆ ตลอดเวลา
ด้วยลีลา การเต้น การหลอกด้วยท่านปลัด ที่คิดค้นกันมาอย่างดี เล่นเอานักท่องเที่ยวสาวๆ ร้องวี๊ดว๊าย
อยู่เนืองๆ (ไม่รู้ ชอบหรือกลัว) สนุกสนานกันไปกับประเพณีที่แปลกประหลาดนี้

ความคิดสร้างสรรค์

แม้ว่าจะมีการะบุคำว่า”จินตนาการ”ในมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ มาตรฐาน ศ 1.1 ไว้อย่างชัดเจน แต่เมื่อกล่าวถึงศิลปะเด็กในสังคมและศิลปศึกษาในโรงเรียนกลับส่งเสริมและให้ความสำคัญเฉพาะทางด้านความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แนวทางจัดกิจกรรมประกวดศิลปะเด็กและกิจกรรมศิลปะในห้องเรียนก็ยังคงจัดโดยกำหนดให้เด็กคิดสร้างสรรค์ตามหัวข้อ ต้องมีเรื่องราว หรือครูเป็นผู้บอกถึงสิ่งที่จะวาด เช่น ชั่วโมงนี้ให้นักเรียนวาดรูปเป็ด เพื่อให้เด็กคิดและแสดงออกไปในทิศทางเดียวกัน และครูศิลปะบางคนมักเอาความคิดของตนเข้าไปชี้นำเด็ก โดยไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกหรือใช้ความคิดของตนเองได้อย่างอิสระ เพียงเพื่อหวังผลรางวัลหรือเกณฑ์ความพอใจของครูที่ตั้งขึ้น ผลงานศิลปะของเด็กและนักเรียนส่วนใหญ่จึงมีลักษณะรูปแบบ เทคนิคและแง่มุมของเนื้อหาซ้ำๆคล้ายคลึงกัน เช่น รูปแบบของการจัดองค์ประกอบในภาพ รูปร่าง รูปทรงที่ถ่ายทอดตามความจริง เทคนิคการระบายสีที่ระบายเกลี่ยสีให้กลมกลืนกันไปตลอดทั่วทั้งภาพ หรือเนื้อหาที่นำเสนออยู่ในวิธีคิดเดิมๆ ขั้นตอนการถ่ายทอดเป็นไปตามลำดับดังนี้คือ ร่างภาพ ระบายสี และตัดเส้น ซึ่งการสร้างสรรค์งานศิลปะในลักษณะนี้เด็กจะใช้เวลาหมดไปกับการประดิษฐ์ประดอย วาดรูปร่างรูปทรงมากมายเพื่อเล่าเรื่องตามหัวข้อที่กำหนด ลอกแบบเลียนแบบกันหรือไม่ก็จำแบบจากภาพต้นแบบ หรือต้องมีแบบให้วาดตาม จึงทำให้ภาพรวมของศิลปะเด็กและศิลปศึกษายังวนเวียนหาคำตอบในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ครูศิลปะก็เน้นย้ำอยู่กับให้เด็กคิดให้แปลก ใหม่ ไม่ซ้ำใคร ค้นหาและชื่นชมเด็กที่ได้รางวัลหรือผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในห้อง คำตอบที่เด็กได้รับคือ วาดได้สวย(ฝึกฝนจนมีทักษะสูง) เขียนได้เหมือน(ตามความเป็นจริงที่ปรากฏในสิ่งแวดล้อม) และชมเชยเด็กว่าเก่ง(โยงเข้าหาพรสวรรค์) ซึ่งแนวทางการแสดงออกทางศิลปะที่นำไปสู่ตำตอบดังกล่าวนี้ทำให้ศักยภาพด้านการรับรู้สัมผัส และจินตนาการของเด็กถูกละทิ้ง เกิดความล้มเหลวในความพยายามที่จะวาดให้เหมือน วาดให้สวย คิดไม่ออก คิดได้น้อย คิดซ้ำกับผู้อื่นของเด็กที่ผลงานถูกคัดออกและเด็กที่เหลือกลุ่มใหญ่ในห้องเรียน ก่อให้เกิดความกังวลใจ หวาดกลัวไม่กล้าแสดงออก ขาดความมั่นใจ เพียงเพราะเป็นกลุ่มที่วาดไม่เป็น วาดแล้วไม่เหมือน วาดไม่สวย ไม่มีพรสวรรค์ สร้างสรรค์หรือเรียนไม่สนุก ไม่มีความสุข จึงส่งผลทำให้เด็กเหล่านั้นละทิ้งการเรียนศิลปะไปในที่สุด ศิลปะเด็กและศิลปศึกษาควรผลักดันให้เด็กได้แสดงออกทางความคิดและความรู้สึกอย่างอิสระตามความถนัดและสนใจ และควรส่งเสริมประสบการณ์ทางด้านความรู้สึกสัมผัสมากขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการรับรู้ในการสร้างจินตภาพ ดังนั้นถ้ากิจกรรมศิลปะกระตุ้นการแสดงออกทางศิลปะด้วยสื่อวัสดุ กลวิธี เทคนิควิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับวุฒิภาวะ ย่อมสร้างเสริมให้เด็กเกิดคุณค่าอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่คุณค่าทางด้านผลงาน คุณค่าทางด้านบุคลิกภาพ และคุณค่าทางด้านประสบการณ์สุนทรียะ ซึ่งจะทำให้เด็กเหล่านั้นได้สั่งสมสุนทรียะรสของตน เกิดความเชื่อมั่นในแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะที่ฝึกฝนจินตนาการและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ไปพร้อมๆกัน ด้วยแนวความคิดนี้จะเป็นการชักนำให้เด็กกลับสู่โลกของศิลปะเพื่อเรียนรู้และสร้างสรรค์ เข้าใจและมองเห็นสิ่งใหม่ๆ มีความรู้สึกใหม่ๆ เกิดประสบการณ์ที่มีความหมายต่อชีวิตของตนและประสบการณ์ร่วมกับผู้อื่น ในอันที่จะชื่นชมและเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชุมชน ความเป็นชาติ ความเป็นสากล และเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าและดีงามสืบไป